ในช่วงปี 1923 – 1949 ของ เฝิง โหย่วหลาน

ปี 1923   เขาได้กลับประเทศจีนแล้วเริ่มต้นสอนหนังสือในตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านปรัชญา  ควบตำแหน่งคณบดีคณะอักษรศาสตร์และหัวหน้าภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยจงโจว (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเหอหนาน)    ในฤดูใบไม้ร่วงของปี 1925  ได้รับหน้าที่เป็นศาสตราจารย์และหัวหน้าภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยซุนยัดเซ็นเมืองกว่างโจว   ปลายปีเขาได้ย้ายไปสอนหนังสือที่ภาคเหนือของประเทศจีน    ปี ค.ศ.1926  เป็นศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเยียนจิง   ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ.1928  ได้รับหน้าที่เป็นศาสตราจารย์สอนปรัชญาและหัวหน้าภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว  และปีถัดไปได้รับตำแหน่งเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์ควบไปด้วย

หนังสือ “ประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน” 《中国哲学史》ของเฝิง โหย่วหลานมีสองเล่ม เล่มแรกได้ตีพิมพ์เมื่อปี 1931  ส่วนเล่มสองตีพิมพ์เมื่อปี 1934   ปรัชญาสำนักขงจื่อได้รับการยกย่องทางด้านการปกครองในประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน

ปี ค.ศ.1934  เฝิง โหย่วหลานได้รับเชิญให้ไปเยือนที่ประเทศสาธารณรัฐเช็กและสหภาพโซเวียต     หลังจากที่กลับจากโซเวียตได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับความรู้เกี่ยวสหภาพโซเวียตและวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์     ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ฝ่ายพรรคก๊กมินตั๋งไม่พอใจและได้จับกุมตัวเขามาดำเนินคดี   แต่สุดท้ายก็ได้รับการปล่อยตัว    จากนั้นเขาก็เข้าหาฝ่ายก๊กมินตั๋งและเข้าร่วมพรรคก๊กมินตั๋งในที่สุด     และปี ค.ศ.1935  เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของสภาพรรคก๊กมินตั๋งในการประชุมครั้งที่ 5 ที่ประเทศจีน

ในปี ค.ศ.1937   สงครามจีน – ญี่ปุ่นได้ปะทุขึ้น   เฝิง โหย่วหลานได้ย้ายตามมหาวิทยาลัยชิงหัวไปยังเมืองฉางชา  และย้ายไปที่เมืองคุนหมิงในภายหลัง    และได้รับหน้าที่เป็นศาสตราจารย์ด้านปรัชญาและคณบดีคณะอักษรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยรวมซีหนาน      ต่อมาได้เกิดความแตกแยกกันของสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง   เฝิง โหย่วหลานจึงเข้าร่วมพรรคก๊กมินตั๋งอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1939     ในระหว่างที่ได้พำนักที่เมืองคุนหมิง   เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ “ซินหลี่เสว”《新理学》ในปี 1939,  “ซินชื่อลุ่น”《新事论》ในปี 1940,  “ซินชื่อซวิ่น”《新事训》ในปี 1940,  “ซินหยวนเหริน”《新原人》ในปี 1943,  “ซินหยวนเต้า”《新厡道》ในปี 1944,  “ซินจือเหยียน”《新知言》ในปี 1946   รวมทั้งหมด 6 เล่ม  เรียกหนังสือทั้งหมดนี้ว่า “หนังสือชุดเจินหยวน 6 เล่ม” (贞元六书)   เขาได้ยกย่องลัทธิขงจื่อดั้งเดิมต่อไป  และได้รวบรวมแนวคิดของลัทธิขงจื่อ    แล้วได้เข้าร่วมขบวนการการเคลื่อนไหวชีวิตใหม่กับพรรคก๊กมินตั๋ง    ในช่วงเวลาที่สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยรวมซีหนาน  เฝิง โหย่วหลานมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับขุนพลระดับสูงของพรรคก๊กมินตั๋ง    ปี ค.ศ.1942  เขาไปสอนหนังสือให้สมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งที่ฉงชิ่ง    ปี 1943  เขามีชื่อเสียงโด่งดังจากมหาวิทยาลัยซีหนาน   เขาได้ส่งจดหมาย “ครองใจประชาชน” ไปให้เจียงไคเช็กอ่าน   เจียงอ่านว่า “เคลื่อนไหวเพื่อประชาชน หลั่งน้ำตาเพื่อประชาชน (为之动容,为之泪下)”     ปี ค.ศ. 1945  เฝิง โหย่วหลานได้รับเลือกให้เป็นประธานการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติของพรรคก๊กมินตั๋ง ครั้งที่ 6 [2]

ในปี ค.ศ.1946  จีนประกาศชัยชนะสงครามต่อต้านญี่ปุ่น  มหาวิทยาลัยรวมซีหนานได้แยกตัวออกมา  แล้วมหาวิทยาลัยชิงหัวได้กลับไปตั้งอยู่ที่นครเป่ย์ผิง(ปักกิ่งในปัจจุบัน)    เฝิง โหย่วหลานได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย  ประเทศสหรัฐอเมริกา   ให้ไปเป็นศาสตราจารย์พิเศษเป็นระยะเวลา 1 ปี     เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ “ประวัติศาสตร์ปรัชญาจีนฉบับสังเขป” ซึ่งได้มาจากการรวบรวมการบรรยายในแต่ละครั้ง    ปี ค.ศ.1948  เขาเดินทางกลับประเทศจีนแล้วไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยชิงหัวโดยทำหน้าที่เป็นศาสตราจารย์ด้านปรัชญา คณบดีคณะอักษรศาสตร์และหัวหน้าภาควิชาปรัชญาเช่นเดิม    ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นนักวิชาการประจำสถาบันวิจัยแห่งชาติเป็นคนแรก (ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)[3] และเป็นนักวิจารณ์ในการประชุมพิจารณ์ที่สถาบันวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 3 [4]